สาระน่ารู้

AI ช่วยหรือแย่งงานมนุษย์ ?

เขียนเมื่อ : 18 ธันวาคม 2019 - 12:39:47

Image URL

ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence)  คือ

เครื่องจักร(machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้  การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ  เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์  (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง

เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง  ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด  โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์อย่างเราๆ

AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถหรือความฉลาดดังนี้

1 ) ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ  AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์(เป็นที่มาของคำว่า Narrow(แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง)  อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด(AI-assisted robotic surgery)  ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน  แต่แน่นอนว่า AIตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาหาร ร้องเพลง หรือทำสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากการผ่าตัดได้นั่นเอง  ซึ่งผลงานวิจัยด้าน AI ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ที่ระดับนี้

2 ) ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General AI )  : คือ AI ที่มีความสามารถระดับเดียวกับมนุษย์ สามารถทำทุกๆอย่างที่มนุษย์ทำได้และได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับมนุษย์

3) ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ในหลายๆด้าน

ถ้าจะมีเรื่องให้กังวลในอีก 10 ปีข้างหน้า คงไม่ใช่การมานั่งคิดว่าอาชีพไหนบ้างที่มาแรง อาชีพไหนบ้างที่จะหายไป น่าจะเป็นคำถามที่ใช่กว่า .. สิ่งที่เราเคยเห็นในหนังว่าหุ่นยนต์จะครองแรงงานมนุษย์กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน

ในบ้านเราเริ่มตื่นตัวกับเรื่องของ AI มาสักพักใหญ่ๆ บ้างก็กลัวว่า AI จะเป็นตัวการทำให้มนุษย์ตกงาน เจ้าสมองกลอันชาญฉลาดนี้จะทำให้ชีวิตสะดวกขึ้นเร็วขึ้น แล้วก็น่ากลัวขึ้นหรือเปล่า? ในอนาคตเราจะมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายที่น่าเชื่อถือขึ้น เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นหมายความว่า แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล การถ่ายโอนข้อมูลก็จะยังสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง เราจะเข้าสู่ “ยุคปฏิวัติหุ่นยนต์” อย่างเต็มตัว และจะเกิด Impact กับโลกอย่างมาก

ถ้าคุณอยากรู้ว่างานที่ทำอยู่มีเปอร์เซ็นการโดนกลืนไปมากแค่ไหน ลองแวะเข้าไป Will Robots Take My Job แค่ใส่ตำแหน่งงานที่เราต้องการค้นหา ระบบจะประเมินความเสี่ยงออกมาให้ดูทันที พร้อมคำอธิบายประกอบว่าเพราะอะไร ออกแบบและพัฒนาโดย Dimitar Raykov และ Mubashar Iqbal โดยใช้ฐานข้อมูลจากรายงาน “The Future of Employment: How susceptible are jobs to computerisation?” และจากกระทรวงแรงงานประเทศอเมริกา

 

AI VS. MACHINE LEARNING

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI)

หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต (อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย) หรือหุ่นยนต์ที่มีรูปร่างหน้าตา เคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์ ใช้แนวคิดการทำงานของสมองของมนุษย์มาประยุกต์เป็นเครือข่ายประสาทเทียม (มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ แต่ไม่ใช่ในด้านความรู้สึก) ประมวลผลโดยการแบ่งประเภทของข้อมูล สามารถคิดได้ตามหลักเหตุและผล วิเคราะห์งานที่เกิดการจากการป้อนสูตรเข้าไป เช่น การแก้ปัญหาทางสถิติ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่างๆ ได้ ในปัจจุบันสามารถสื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้แล้ว

Machine Learning คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามาสามารถคิดได้ โดยที่คนไม่จำเป็นต้องไปโปรแกรมมัน Machine Learning มีโปรแกรมที่ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูล แล้วสร้างวิธีการตอบสนองต่อข้อมูลขึ้นมาเอง โดยเรียนรู้จาก Data ที่เรา Search หาเยอะๆ มันจะจดจำว่าถ้ามีคำสั่งเข้ามาแบบนี้ คำตอบที่ถูกต้องน่าจะเป็นแบบไหน ตัวอย่างที่เห็นภาพง่ายมาก คือ Search Engine ของ Google หรือ Facebook’s Friend Suggestions ที่เราเห็นกันใน Facebook ของเรา ระบบเลือกมาให้ว่าเราน่าจะรู้จัก

Ai_era_2_20171106_skillsolved_headhunter

ตัว Machine Learning เป็นการรวมของศาสตร์หลายแขนง เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถิติ เพราะมนุษย์กำหนดกฏในการเรียนรู้ของ Machine Learning โดยใช้ Math มากำหนด คอมพิวเตอร์ก็จะใช้กฏนั้นประมวลผลออกมา นอกจากนี้มันยังเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อย่างอื่นที่เราต้องการนำไปประยุกต์ใช้ เช่น ชีววิทยา เคมี หลักการตลาด เป็นต้น … เราใช้ Machine Learning ไปเอื้อประโยชน์ใน AI โดยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ นำไปสู่การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ต่างกัน ทำให้ AI ฉลาดขึ้น มีสมองเทียมที่เหมือนคนมากขึ้นนั่นเอง

 

ใครจะอยู่ ใครจะไป ?

งานจิตอาสา งานเพื่อสังคม นางพยาบาล นักบำบัด นักจิตวิทยา งานที่ต้องใช้ทักษะด้านเจรจา และโดยเฉพาะสายอาชีพศิลปะแขนงต่างๆ ที่จะใช้สมองซีกซ้ายในคิดเป็นส่วนใหญ่ อาชีพที่มักใช้อารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องกับงาน เช่น Artists, Designers, Engineers ยังอยู่รอดปลอดภัย เพราะอาชีพเหล่านี้อาศัยทักษะพิเศษ การคิดแบบ Original Ideas ยากที่จะลอกเลียนแบบ ไม่มีแพทเทิร์นที่ตายตัว

งาน Routine อาชีพที่ทำงานซ้ำๆ เดิมๆ งานที่ใช้แรงงาน (Blue – collar) ไม่ได้ใช้ความรู้ในระดับเชี่ยวชาญและเฉพาะทางจริงๆ คุณกำลังเข้าข่ายเส้นยาแดง และคุณจะโดนกลืนกิน แทนด้วยเทคโนโลยีในที่สุด เช่น Cashier, Telephone salesperson, คนงานในโรงงาน, คนขับรถแท็กซี่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพขึ้นไปอีก Financial industry (อุตสาหกรรมการเงิน) ก็ถือว่ามีแนวโน้มสูงมากทีเดียว เนื่องจาก Machine Learning สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินและเตรียมข้อมูลบัญชี ได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องอาศัยนักบัญชี (ที่มีโอกาสคำนวณพลาด) อีกต่อไป ตัวอย่างที่มีเห็นอย่างเด่นชัดคือ ATM และ Mobile Banking ได้เข้ามาแทนที่งานหลายส่วนของมนุษย์ไปแล้วเรียบร้อย

Ai_era_3_20171106_skillsolved_headhunter

เตรียมตัวรับมืออย่างไรดี ?

จริงอยู่ที่หุ่นยนต์เป็นเลิศด้วยความแม่นยำ ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย Robot ทำงานทั้งวี่ทั้งวันก็ไ่ม่มีเสียงโวยวายกลับมา หุ่นยนต์ไม่ต้องการวันหยุด แถมผลผลิตยังไร้ที่ติมากขึ้น หุ่นยนต์ 1 ตัว อาจจะเท่ากับแรงงานคน 10 คน หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ งานจำนวนมากกำลังจะ ถูก AI และ Automation แทนที่ แต่ถึงแม้หุ่นยนต์จะถูกพัฒนาไปอย่างมาก เรายังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าเทสจนมั่นใจว่าสามารถแทนที่มนุษย์ได้จริงๆ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องกลัวหุ่นยนต์

ให้มองว่ามันเข้ามาหย่อนแรง ร่นเวลา เราจะได้เอาเวลาที่เหลือมากขึ้นมาพัฒนาด้านอื่น อย่าลมว่ายังไงซะหุ่นยนต์ก็ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์เรานี่แหละ ต่อให้หุ่นยนต์ฉลาดแค่ไหน ยังไงก็อยู่ในกรอบโปรแกรมที่ถูกใส่เข้าไป ถ้าเราประยุกต์นำเอไอกับมันสมองมนุษย์มาทำงานร่วมกันมันจะทรงพลังมากทีเดียว ใช้ความ Realtime ของเอไอตอบโจทย์ผู้บริโภค ใช้ข้อดีของการไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยบริหารจัดการ และใช้จิตนาการของคน ผลิต Original Ideas ออกมา

Cartoon_20171106_skillsolved_headhunter

ดังคำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ “จิตนาการสำคัญกว่าความรู้” หากมองในภาพของความรู้ ความรู้คือการทำความเข้าใจกับบางสิ่งที่เราอยากจะรู้ หรืออาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการจะรู้แต่โดนสถานการณ์บังคับให้รับรู้ ส่วนในเรื่องของจิตนาการ คือ “การสังเกต + การเพ้อฝัน” ความฝันของเราอาจเป็นจริงได้หรือไม่ก็ตาม มาจากการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว เกิดเป็นบ่อความคิดในรูปแบบของการเพ้อฝัน แล้วนำไปต่อยอดการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ในลักษณะความคิดแบบอเนกนัย เรานำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในชีวิตประจำวันในทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะอาชีพไหนก็สามารถหยิบเอาความถนัดของตัวเองมาทำงานร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ได้ เช่น ด้านการตลาดและการโฆษณา (Marketing and Advertising)

รู้กันอยู่แล้วว่าในอินเตอร์เน็ทปัจจุบันมีข้อมูลมหาศาล และเปลี่ยนแปลงทุกวัน ให้นักการตลาดมาวิเคราะห์ทุกวันมันคงเป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถใช้ Machine learning ติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคแบบทันที เป็นเครื่องมือช่วยนักการตลาดวิเคราะห์ให้ถูกจุดขึ้นได้ เจ้าหุ่นยนต์อาจจะจดจำข้อมูลได้แบบไร้ขอบเขต แต่ก็ยังไม่มีทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์อยู่ดี ยังคงต้องอาศัยทักษะด้านการพูดโน้มน้าวในการขาย การดีไซน์ และการคิดนอกกรอบให้แตกต่างเพื่อถึงความสนใจจากลูกค้านั่นเอง ซึ่งถ้าคุณไม่รู้จักปรับตัวให้ทัน หุ่นยนต์จะแย่งงานคุณไปอย่างแน่นอน

ที่มา:skillsolved.com